คำถามที่พบบ่อย FAQ

A: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1034 ถ.กรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10100

A:

A:

  •    วันจันทร์ถึงวันศุกร์: เวลาเปิดทำการตั้งแต่ 08.30 น. ถึง 16.30 น.
  •    วันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะปิดทำการ

A: สามารถดูข้อมูลการรับสมัครงานของกรมได้ที่กระดานข่าวรับสมัครงานในเว็บไซต์

ดูเพิ่มเติม

A:
    1.สมาชิกนิคมสร้างตนเอง ลงบันทึกประจำวันแจ้งการสูญหายของหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.1) หรือหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) โดยต้องระบุเล่มที่ เลขที่ และวันที่ออก ณ ที่สถานีตำรวจท้องที่ซึ่งเอกสารสูญหาย
    2.ยื่นคำร้องต่อผู้ปกครองนิคมสร้างตนเอง ซึ่งตนเป็นสมาชิกและได้รับการจัดสรรที่ดินที่ได้รับเอกสารสิทธินั้น
    3.ผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองสอบปากคำสมาชิกนิคมฯ ยืนยันว่าหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.1) หรือหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) สูญหายจริง มิได้นำไปมอบไว้ให้แก่ผู้ใด และหากค้นพบภายหลังจะนำมามอบคืนให้
    4.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการเป็นสมาชิกนิคม และการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อนุญาตแล้วว่ามีหลักฐานและการเข้าทำประโยชน์อยู่ การได้รับหนังสือฯ (น.ค.3) หรือการยื่นคำร้อง น.ค.2 ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว ตามข้อ 1 (แล้วแต่กรณี)
    5.นิคมออกประกาศโดยระบุรายละเอียดของหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.1) หรือหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ที่สูญหายปิดประกาศ ที่ทำการนิคม ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ที่ดินตั้งอยู่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เป็นเวลา 30 วัน
    6.เมื่อครบเวลาให้จัดทำหนังสือเสนออธิบดีออกสำเนาต้นขั้วหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) แทนฉบับจริงที่สูญหาย พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาต่อไป

เอกสารที่สมาชิกนิคมต้องนำมา
    1.บันทึกประจำวันของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งความว่า หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (น.ค.1) หรือใบแทนหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) สูญหาย
    2.สำเนาทะเบียนบ้าน (นิคมทำสำเนา)
    3.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (นิคมทำสำเนา)
    4.หลักฐานการสมรส, การหย่า, การเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี)
    5.อื่น (ถ้ามี) (สำเนาเอกสารสิทธิฉบับจริงที่สมาชิกนิคมถ่ายสำเนาเก็บไว้, หนังสือมอบอำนาจกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)

A:   การอนุมัติออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) นั้น ต้องดำเนินการตามกระบวนการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 คือ สมาชิกนิคมได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว และเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเกินกว่า 5 ปี ทั้งได้ชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อย โดยเมื่อสมาชิกนิคมได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ครบถ้วนแล้ว ต้องยื่นคำร้องขอออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (คำร้อง น.ค.2) ณ ที่ทำการนิคมสร้างตนเอง เมื่อนิคมฯได้รับคำร้องแล้ว สามารถติดตามความคืบหน้าและขั้นตอนการดำเนินการ ได้ ณ ที่ทำการนิคมสร้างตนเอง

A:   การเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) โดยทำได้ 2 กรณี ได้แก่
   1.การโอนสิทธิ มาตรา 27 (6) ไม่มอบหรือโอนสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ *หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*มอบหมาย
   2.การรับสิทธิแทน ตามมาตรา 30 มาตรา 31 และมาตรา 32
 ทั้งนี้ นิคมฯ จะต้องดำเนินการเสนอผู้จะขอรับสิทธิแทนสมาชิกนิคมเดิม ต่อคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติฯ ตามมาตรา 22 และได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ตามมาตรา 8

A:   ไม่สามารถซื้อ ขาย หรือจะไปเป็นหลักประกันชำระหนี้ได้ เนื่องจากยังถือเป็นที่ดินของรัฐ

A:   สามารถตกถึงทายาทโดยธรรมได้ ตามมาตรา 30 ทั้งนี้ ทายาทโดยธรรมผู้ขอรับสิทธิแทนนั้น ต้องมีคุณสมบุติตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ด้วย

A: องค์การสวัสดิการสังคม สามารถยื่นโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ได้ ดังนี้

  • กรณีที่ 1 องค์กรมีที่ตั้งและพื้นที่ดำเนินงานโครงการในจังหวัดเดียวกัน ให้ยื่นผ่านระบบการยื่นโครงการเพื่อขอรับเงินกองทุนฯ (https://socialfund-processes.dsdw.go.th) ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
  • กรณีที่ 2 องค์กรมีที่ตั้งและพื้นที่ดำเนินงานโครงการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นผ่านระบบการยื่นโครงการเพื่อขอรับเงินกองทุนฯ (https://socialfund-processes.dsdw.go.th) ของสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร
  • กรณีที่ 3 โครงการที่องค์กรดำเนินการนอกพื้นที่จังหวัดที่องค์กรตั้งอยู่หรือโครงการมีกลุ่มเป้าหมายอยู่นอกเขตพื้นที่จังหวัด ให้ยื่นผ่านระบบการยื่นโครงการเพื่อขอรับเงินกองทุนฯ (https://socialfund-processes.dsdw.go.th) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  • กรณีที่ 4 องค์กรสาธารณประโยชน์ในต่างประเทศ ให้ยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ในประเทศนั้น ๆ

A: องค์กรสามารถติดต่อขอรับแบบฟอร์มคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ และองค์กรสวัสดิการชุมชน ดังนี้

  1. กรณีองค์กรตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ขอแบบฟอร์มได้ที่สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีมูลนิธิ หรือสมาคม (แบบ ก.ส.ค. 1)
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีองค์กรภาคเอกชน (แบบ ก.ส.ค. 2)
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน (แบบ ก.ส.ค. 5)
  2. กรณีองค์กรตั้งอยู่ในจังหวัดใด ขอแบบฟอร์มได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดนั้น
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีมูลนิธิ หรือสมาคม (แบบ ก.ส.ค. 1)
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีองค์กรภาคเอกชน (แบบ ก.ส.ค. 2)
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชน (แบบ ก.ส.ค. 5)
  3. กรณีองค์กรตั้งอยู่ในต่างประเทศขอแบบฟอร์มได้ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
    • แบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีองค์กรภาคเอกชนในต่างประเทศ (แบบ ก.ส.ค. 9)

A: ในกรณีองค์กรมีที่ตั้งและพื้นที่ดำเนินงานโครงการในจังหวัดเดียวกัน ให้ยื่นผ่านระบบการยื่นโครงการ เพื่อขอรับเงินกองทุนฯ (https://socialfund-processes.dsdw.go.th) ของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือสำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร นั้น ๆ ในการยื่นเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินกองทุนฯ จากส่วนกลาง จะต้องเป็นโครงการที่องค์กรดำเนินการนอกพื้นที่จังหวัดที่องค์กรตั้งอยู่ หรือโครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่นอกเขตจังหวัด

A:

  1. การอบรมในรูปแบบ on-site กรุงเทพมหานคร : กองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทรศัพท์ 0 2659 6394
    ส่วนภูมิภาค : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
  2. การอบรมในรูปแบบ on-line สมัครได้ที่ Website : คลิกที่นี้

A:

  1. อพม.มีโอกาสรู้จักผู้คนเพิ่มขึ้นจากหลากหลายสาขาอาชีพ และจากชุมชนต่างๆ ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ ในการทำงานช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม
  2. อพม. มีความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง การช่วยเหลือเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ประสบปัญหาทางสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. อพม.มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับแก้ปัญหาในสังคม สวัสดิการทางสังคม และภารกิจที่เกี่ยวข้องตามบทบาท อพม.
  4. อพม. มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เช่น การทำความสะอาดชุมชน การสร้างสวนสาธารณะ การจัดกิจกรรมต่างๆ ช่วยให้ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้า

โดยสรุป การเป็นอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นั้น ให้ผลดีทั้งต่อตัวผู้สมัครเอง และต่อสังคมโดยรวม

เว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านนโยบายนี้เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ