ยุทธศาสตร์ พส.

v

แผนปฏิบัติราชการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พ.ศ. 2566- 2570

 

เรื่องที่ ๑ การพัฒนาระบบสวัสดิการยกระดับคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมายและสังคมอย่างยั่งยืน

แนวทางพัฒนา

              ๑.  พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ระบบกลไก และมาตรการ การจัดสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรมในทุกมิติ โดยการกำหนดมาตรฐานการให้ความช่วยเหลือทางสังคมในแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมและชัดเจนในรูปแบบต่างๆ ให้สามารถคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน

๒.    คุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่ประสบ

ปัญหาสังคมและภาวะยากลำบากไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้  ทั้งการคุ้มครองอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ครอบคลุมการจัดโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม ให้สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมและสวัสดิการพื้นฐานของภาครัฐได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการสังคมสงเคราะห์เพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productive Welfare) รวมถึงการมีมาตรการเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการประสบภาวะยากลำบากและไร้ที่พึ่ง

๓.    พัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนแนวทาง

การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม การบูรณาการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างผลิตภาพ การเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน แหล่งเงินทุน ตลอดจนการใช้ทุนทางสังคม อาทิ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ศาสนสถาน รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

 

เรื่องที่ ๒  การเสริมพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการ

แนวทางพัฒนา

             ๑. เสริมสร้างสภาพแวดล้อมและกลไกการทำงานของภาคีเครือข่าย โดยสร้างสังคมแห่งการให้และช่วยเหลือกันและกัน โดยการพัฒนากลไกและระบบสนับสนุนการบริหารจัดการเครือข่ายและอาสาสมัครในระดับชาติ และระดับจังหวัด รวมทั้งส่งเสริมให้มีกลไกเชื่อมโยงกับนโยบายและการบริหารจัดการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

             ๒. เสริมสร้างศักยภาพของภาคีเครือข่าย โดยการส่งเสริมความรู้ ทักษะ และการเสริมพลังทางสังคม บูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคม เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเป็นกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ได้อย่างมีมาตรฐาน

             ๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและการจัดสวัสดิการสังคม โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ
เว็บไซต์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านนโยบายนี้เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ