การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐเครื่องมือหนึ่ง โดยเป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบราชการไทยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งจับผิด เปรียบเสมือนเครื่องมือ ตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศได้รับทราบถึงสถานะและ ปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร  ผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงาน ภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การให้บริการ สามารถอำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการประเมิน ITA ยังเป็นเครื่องมือในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภาครัฐ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการ ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนั้น การประเมิน ITA จึงไม่ได้เป็นเพียงการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน การป้องกันการทุจริตในองค์กรและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ แต่ยังเป็นการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน เพื่อให้ทราบถึงช่องว่างของความไม่เป็นธรรมและความด้อยประสิทธิภาพ สำหรับนำไปจัดทำแนวทางมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการไทย

       คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยมีเจตนารมณ์ที่มุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐนำข้อมูลผลการประเมินไปพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานตนเองได้อย่างเหมาะสมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการขับเคลื่อนมาตรการเชิงบวกด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย   กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการตอบสนองนโยบายดังกล่าว โดยจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม  ความโปร่งใส  ปราศจากการทุจริตและเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารงานให้บรรลุเจตนารมณ์  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมทั้งตอบสนองและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้ร่วมประเมินในโครงการดังกล่าว มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558

คณะทำงาน

1.  อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่ปรึกษาคณะทำงาน
2.  รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (ที่ได้รับมอบหมาย)ประธานคณะทำงาน
3.  เลขานุการกรมคณะทำงาน
4.  ผู้อำนวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตคณะทำงาน
5.  ผู้อำนวยการกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษคณะทำงาน
6.  ผู้อำนวยการกองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคมคณะทำงาน
7.  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงานคณะทำงาน
8.  ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติคณะทำงาน
9.  ผู้อำนวยการกองหนึ่งใจ...เดียวกันคณะทำงาน
10. หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหารคณะทำงาน
11. หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายในคณะทำงาน
12. หัวหน้ากลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลคณะทำงาน
13. หัวหน้ากลุ่มพัสดุและบริหารทรัพย์สินคณะทำงาน
14. หัวหน้ากลุ่มบริหารการคลังคณะทำงาน
15. หัวหน้ากลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคลคณะทำงาน
16. หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์คณะทำงาน
17. หัวหน้ากลุ่มกฎหมายคณะทำงานและเลขานุการ
18. เจ้าหน้าที่กลุ่มกฎหมายที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คนผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

      1. ดำเนินการตามเกณฑ์ ระเบียบวิธี และคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
      2. ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซด์ของหน่วยงาน เพื่อเปิดเผยการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบตามประเด็นและตัวชี้วัดของการประเมิน ITA
      3. ประสานงานกับหน่วยงานภายในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นไปตามแนวทางการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนด
      4. กำกับ ติดตาม รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบการปฏิบัติราชการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ให้มีการดำเนินงานที่เป็นไปตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน
      5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย