กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต (กคส.)

มีหน้าที่และอำนาจดังนี้

1. กำหนดมาตรฐาน มาตรการ และกลไกการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่คนไร้ที่พึ่งและผู้ทำการขอทาน

2. พัฒนาระบบ รูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้ที่พึ่งและผู้ทำการขอทาน

3. ช่วยเหลือ คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน

4. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง และองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และงานเลขานุการของคณะกรรมการควบคุมการขอทาน

6. กำกับ ดูแล และติดตามการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต

7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

 

โครงสร้างภายในกองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

1) ฝ่ายบริหารทั่วไป

    - ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานพัสดุ การบริหารงานทั่วไป งานงบประมาณ และงานบุคคล

    - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

2) กลุ่มมาตรการและกลไก

    - กำหนดมาตรฐานการจัดบริการสวัสดิการสังคมแก่องค์กรที่ให้บริการกลุ่มเป้าหมาย และสนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน

    - กำหนดมาตรการ แผนงาน และพัฒนากลไกเพื่อการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่กลุ่มเป้าหมาย

    - ดำเนินการตามพันธกรณีหรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

    - จัดทำข้อมูลและสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน

    - งานเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและคณะกรรมการควบคุมการขอทาน

    - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

    - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

3) กลุ่มการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ

    - พัฒนาระบบการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย

    - พัฒนารูปแบบการดำเนินงานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย

    - กำกับ ดูแล และสนับสนุนการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต

    - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

4) กลุ่มการส่งเสริมและพัฒนา

    - ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพ และประสานความร่วมมือหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรสวัสดิการชุมชน องค์กรภาคเอกชนอื่น และกลุ่มคนไร้ที่พึ่งในการจัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มเป้าหมาย

    - ส่งเสริมกระบวนการรวมกลุ่มพึ่งตนเองของกลุ่มเป้าหมายและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิกลุ่มเป้าหมาย

    - เสริมพลังและเสริมสร้างเจตคติเชิงบวกของสังคมและกลุ่มเป้าหมาย

    - พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง

    - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

5) กลุ่มการช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ

    - ให้การช่วยเหลือ คุ้มครองและติดตามประเมินผลคุณภาพชีวิตกลุ่มเป้าหมาย

    - พัฒนาองค์ความรู้ด้านการช่วยเหลือคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายตามบริบทพื้นที่

    - ประสานความร่วมมือด้านทรัพยากรและการดำเนินงานจากองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้การช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย

    - เยียวยาผู้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง

    - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย

6) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (11 แห่ง)

    - สำรวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

    - สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและให้การคุ้มครอง รวมทั้งรับตัวคนไว้

    - จัดให้มีที่พักอาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ จัดให้มีการตรวจสุขภาพกายและสุขภาพจิต ฝึกอบรมและฝึกอาชีพ รวมทั้งหาอาชีพให้แก่คนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน

    - ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองตามกฎหมายนั้น

    - ให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ในด้านการดำรงชีวิต ด้านกฎหมาย หรือด้านอื่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

    - ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

    - เป็นศูนย์เรียนรู้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทาน

7) ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (76 แห่ง)

    - สำรวจและติดตามสภาพและปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง

    - สืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับการคุ้มครองหรือที่ถูกส่งตัวมายังศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และให้การคุ้มครองในเบื้องต้นแก่คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งรับตัวคนไร้ที่พึ่งไว้

    - ประสานงานเพื่อจัดส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

    - ให้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งตามที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมอบหมายหรือตามที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเห็นสมควร

    - คัดกรองผู้ทำการขอทานก่อนประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    - ดำเนินมาตรการเชิงรุกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและบุคคลที่อยู่ในสภาวะยากลำบากเข้าสู่วิถีการขอทาน หรือเป็นบุคคลไร้ที่พึ่ง

    - เป็นศูนย์เรียนรู้การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทาน

8) ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง

    - รับแจ้งเหตุ และประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตลอด 24 ชั่วโมง ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557

    - สำรวจ ตรวจตรา คัดกรอง และช่วยเหลือเบื้องต้น รวมทั้งรวบรวมข้อมูลสถิติ นโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง

    - ศึกษา วิเคราะห์ ประมวลผล และจัดทำข้อมูลและสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติงานขอทาน คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอข้อมูลตามมาตรการการแก้ไชปัญหาการขอทานและคนไร้ที่พึ่ง

    - พิจารณากลั่นกรอง ประสาน และสนับสนุนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาขอทานและ คนไร้ที่พึ่ง ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อจัดทำนโยบาย มาตรการ และจัดสวัสดิการให้แก่ขอทานและคนไร้ที่พึ่ง

    - ติดตาม ประเมินผล บูรณาการแผนงาน/โครงการ กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องและจัดทำรายงานการดำเนินงาน พร้อมปัญหาอุปสรรค นำเสนอรายงานประจำวันให้ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งสรุปรายงานความก้าวหน้าให้แก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาโดยต่อเนื่อง

    - สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศ

    - ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

9) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต (3 แห่ง)

    - สำรวจ และติดตามสภาพปัญหาเกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งสืบเสาะข้อมูลที่เกี่ยวกับคนไร้ที่พึ่งที่ขอรับการคุ้มครองหรือจากการส่งตัว โดยให้การคุ้มครองในเบื้องต้นแก่คนไร้ที่พึ่ง

    - จัดสวัสดิการสังคม เพื่อคุ้มครองและดูแลคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน ที่ได้รับการ ประเมินศักยภาพ และคัดกรองจากศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งกรุงเทพมหานคร

    - จัดให้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ การฝึกอาชีพ การสงเคราะห์ นันทนาการ และการพัฒนาทักษะในการใช้ชีวิตในครอบครัว ชุมชน และสังคม ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ในพื้นที่รับผิดชอบกรุงเทพมหานคร

    - ประสาน และส่งต่อคนไร้ที่พึ่ง และผู้ทำการขอทาน เข้ารับการคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะ หรือจัดส่งไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

    - ภารกิจอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย